9253 จำนวนผู้เข้าชม |
ค่า “กระเช้า” ถือเป็น “รายจ่ายค่ารับรอง” หรือไม่?
กรณี รายจ่ายค่ากระเช้าของขวัญหรือของชำร่วย ต้องแยกพิจารณา ดังนี้
1. บริษัทให้กระเช้าลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นประจำโดยให้ทุกปี กรณีนี้ รายจ่ายค่ากระเช้าย่อม “ไม่ใช่ค่ารับรอง”
แต่เป็นรายจ่ายในการส่งเสริมการขาย
2. แจกกระเช้าเนื่องในโอกาสปีใหม่ให้แก่ข้าราชการหรือผู้มีพระคุณทั่วไป
กรณีนี้เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นส่วนตัวหรือให้โดยเสน่หาซึ่งถือเป็นรายจ่าย “ต้องห้าม”
3. กรณีให้กระเช้าแก่แขกผู้มาเยือน อาจพิจรณาเป็นรายจ่ายค่ารับรองทางภาษีอากรได้ ต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
3.1. ต้องเป็นค่ารังรองหรือค่าบริการ “อันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลทีได้รับการรับรอง
จะต้องไม่ใช่ลูกจ้าง” เว้นแต่ลูกจ้างจะมีส่วนร่วมในการรับรองนั้น
3.2. ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการ ที่อาจอำนวยประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าอาหาร
ค่าที่พัก ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น การรับรองต้องไม่เกิน 2,000 บาทต่อคนต่อคราว
3.3 ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินค่ารับรองหรือค่าบริการที่สามารถพิสูจน์ผู้รับเงินได้
3.4 ต้องมีผู้มีอำนาจในองค์กร อาทิ กรรมการ , หุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้อนุมัติสั่งจ่าย
จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายได้ ได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่ายแต่รวมกันต้อง...
1. ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด
2. ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้ว ถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
3. ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้ จะต้องมีจำนวนสูงสุด ไม่เกิน 10 ล้านบาท