8 บท ความรู้เรื่อง E-Commerce

1464 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้จักกับ E-commerce

บทที่ 1 รู้จักกับ e-Commerce
รู้จัก e-Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินงานซื้อขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต หรือเรียกอีกอย่างว่าการซื้อขายออนไลน์ รูปแบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ขยายตลาดได้กว้าง สามารถซื้อขายได้ทุกที่ทุกเวลา
เตรียมเข้าสู่ e-Commerce โดยมีประเด็นหลักๆ ดังนี้
1. กำหนดงบการลงทุน
2. หาสินค้ามาขาย
3. ช่องทางการขายสินค้า
4. การตอบโต้กับลูกค้า
5. การเก็บเงินและการจัดส่งสินค้า
6. บริการหลังการขาย
ข้อดี – ข้อเสียของ e-Commerce
ข้อดี
• มีต้นทุนในการขายที่ต่ำ
• สะดวกในการตอบโต้ลูกค้า
• เปิดขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง
• ลดการต่อรอง
• ไม่จำเป็นต้องมีสต๊อกสินค้า
ข้อเสีย
• มีการแข่งขันสูง อาจโดนตัดราคาได้ง่าย
• ผู้ซื้อและผู้ขาย ต้องมีความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ต
• เสี่ยงต่อการถูกแฮค
• สินค้าจับต้องไม่ได้ หากลูกค้าได้รับสินค้าที่ไม่ตรงกับภาพอาจถูกโจมตี
ได้
.
บทที่ 2 รู้จักตลาดบน e-Commerce
สินค้าอะไรขายดี เราควรศึกษาความต้องการของตลาดเสียก่อน ว่าสินค้าใดบ้างที่ขายง่าย ขายคล่อง จะได้ไม่เสียเงินลงทุนแล้วสินค้าถูกดองในสต๊อค
คู่แข่งของเราคือใคร คู่แข่งในโลกออนไลน์ ก็คือผู้ที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันกับเรา ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับการโปรโมทให้เป็นที่รู้จัก รวมไปถึงสินค้าและการบริการที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือเพื่อที่จะรักษาลูกค้าให้กลับมาซื้อสินค้าของเราอีก
ช่องทางการขายบน e-Commerce การขายในรูปแบบออนไลน์นั้น ผู้ขายไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเป็นของตัวเองก็สามารถซื้อขายสินค้าได้ เพียงแค่มีพื้นที่สำหรับแสดงรูป รายละเอียดสินค้า และมีข้อมูลให้ติดต่อซื้อขาย
เตรียมตัวอย่างไร เพื่อขายแต่ละรูปแบบ
1. ข้อมูลสร้างเว็บไซต์
2. ข้อมูลร้านค้า
3. ข้อมูลธุรกิจ
4. รายละเอียดและรูปสินค้า
5. ข้อมูลสำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน
6. เลือกรูปแบบการสร้างร้านค้าออนไลน์
7. ช่องทางทำการตลาด ขาย โฆษณา ประชาสัมพันธ์
8. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
.
บทที่ 3 Branding สำคัญอย่างไรต่อร้านค้าออนไลน์
การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะกับร้านค้าออนไลน์ที่มีคู่แข่งและมีสินค้าที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก การสร้างแบรนด์คือการสร้างคุณค่าระยะยาวมากกว่าการสร้างรายได้ในระยะสั้น ดังนั้นแล้ว การสร้างแบรนด์จึงไม่ใช่เรื่องของการสื่อสารทางการตลาดเท่านั้น แต่ควรหยั่งรากลึกไปถึงหัวใจของธุรกิจ
ประโยชน์ของการสร้างแบรนด์มีดังนี้
• เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการ
• เป็นการสร้างตัวตนหรืออัตลักษณ์ที่ทำให้แตกต่างกับคู่แข่ง
• สร้างการเชื่อมโยงกัยผู้บริโภค
ขั้นตอนการสร้างแบรนด์เบื้องต้น
• เริ่มต้นจากการหาจุดยืนของเรา
• การหาข้อเสนอหรือคุณค่าที่โดดเด่น
• การกำหนดการสร้างความแตกต่างทางด้านความรูสึกเชิงอารมณให้กับแบรนด์
• การถ่ายทอดแบรนด์ออกไปในทุก ๆ มุมมอง
การทำให้ร้านค้าออนไลน์เป็นที่รู้จักและชื่นชอบ
1. การทำให้เกิดการรับรู้ถึงแบรนด์
2. การทำให้เกิดการชื่นชอบในแบรนด์
3. การสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า
4. การทำให้แบรนด์มีผู้สนับสนุน
.
บทที่ 4 สร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์อย่างไรให้น่าเชื่อถือ
เนื้อหาที่ควรมีในเว็บไซต์
1. ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท องค์กร ร้านค้า หรือผู้จัดทำ
2. รายละเอียดของผลิตภัณฑ์หรือบริการ
3. ข่าวสาร
4. คำถามคำตอบ
5. ข้อมูลในการติดต่อ
.
บทที่ 5 โปรโมทอย่างไรให้ดัง
ทำไมต้องโปรโมทเว็บ การโปรโมทเว็บให้ติดอันดับใน Search Engine หรือการทำ SEO (Search Engine Optimization) เป็นการทำให้เว็บเป็นที่รู้จักในเว็บ Search Engine ทั้งหลาย เช่น Google เพราะคนส่วนใหญ่หากต้องการจะหาซื้อสินค้าอะไรสักชิ้นจะต้องทำการค้นหาข้อมูลก่อน โดยวิธีการที่ลูกค้าจะเข้ามายังเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้นั้น มีอยู่ 3 วิธี
1. เข้ามาโดยตรงด้วยการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์
2. มาจากหน้าผลการค้นหา Search Engine ทั้งหลายโดยการพิมพ์คำค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด (Keywords)
3. มาจากการคลิก Link ที่อยู่ในเว็บไซต์อื่น ๆ (Referral)
.
บทที่ 6 Go Mobile, Go Tablet
ปัจจุบันเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาและเติบโดไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคนิยมหันมาใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก พกพาง่าย สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ให้ตาวน์โหลดใช้มากมาย
ด้วยเหตุผลนี้ในการค้าขายแบบออนไลน์นั้น อุปกรณ์เหล่านี้ย่อมมีผลต่อการทำการตลาดอย่างแน่นอน เนื่องจากพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคจะอยู่ที่อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตมากขึ้น
.
บทที่ 7 Payment จ่ายง่าย ได้ยอด
รับเงินจ่ายเงิน ใครช่วยได้บ้าง ในปัจจุบันการชำระเงินของร้านค้าออนไลน์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. ชำระแบบออฟไลน์
2. ชำระแบบออนไลน์
เลือกวิธีการชำระเงินให้เหมาะสม การชำระเงินในรูปแบบต่าง ๆ นั้น ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการ รวมทั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้านว่ามีความสามารถชำระเงินผ่านช่องทางใดได้บ้าง เนื่องจากร้านค้าออนไลน์มีการแข่งขันสูง อย่างไรก็ตามในการเปิดช่องทางการชำระเงินในรูปแบบต่าง ๆ นั้น ผู้ขายเองก็ต้องพิจารณาว่าเหมาะสมกับสินค้าและบริการของร้านหรือไม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินของลูกค้าช่วยในการซื้อขายสินค้าทำได้ง่าย และเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคตได้
.
บทที่ 8 หลังร้าน e-Commerce ก็สำคัญ
สต๊อคสินค้าสำคัญอย่างไร จุดประสงค์ของการสต๊อคสินค้า เพื่อต้องการให้สินค้ามีเพียงพอต่อการขายหากสินค้าชิ้นใดขายดีก็ควรจะมีการผลิต หรือหามาเก็บไว้ในปริมาณที่มากเช่นกัน
สต๊อคอย่างไรของไม่ขาด เงินไม่จม การจัดการสต๊อคเป็นสิ่งสำคัญของการขายของบนเว็บไซต์ e-Commerce เพราะ ถ้าหากลูกค้าสนใจจะสั่งซื้อแล้วก็ต้องมีสินค้าพร้อมจัดส่งทุกเมื่อ จึงต้องมีการอัพเดทสต๊อคสินค้าจริงและสินค้าบนเว็บร้านค้าให้มีความสัมพันธ์กัน
บริหารจัดการสินค้าในสต๊อค การสั่งซื้อสินค้าไว้สำหรับขาย เจ้าของร้านเองควรจะสั่งซื้อในปริมาณที่พอดีกับการขายไม่หมดอาจจะทำให้สินค้าล้าสมัยหมดอายุ หรือเสื่อมคุณภาพได้
ไม่ต้องสต๊อคสินค้าก็ขายได้ สำหรับใครที่อยากเปิดร้านขายของออนไลน์ แต่ไม่มีเงินลงทุนพอในการซื้อของมาสต๊อคไว้ ก็สามารถที่จะเป็นตัวแทนขายได้เมื่อมีลูกค้าติดต่อซื้อสินค้ากับเรา เราถึงจะนำเงินจากการรับชำระค่าสินค้าไปติดต่อสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าส่งของเราแล้วค่อยส่งสินค้าไปยังลูกค้า
ข้อควรรู้ขายออนไลน์
       การขายของออนไลน์ นอกจากจะทำให้ร้านเป็นที่รู้จักแล้ว ยังต้องรักษาฐานลูกค้าเดิม และเพิ่มลูกค้ารายใหม่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการส่งเสริมการขายใด ๆ จะต้องตอบสนองกิจกรรมการซื้อของลูกค้าว่าต้องการอะไร ก่อนซื้อ ขณะซื้อ และหลังการซื้อ การให้บริการที่ดีไม่ว่าจะเป็นการโต้ตอบพูดคุย เหมือนเป็นที่ปรึกษาให้ลูกค้าเดิมต้องกลับมาซื้ออีกแน่นอน เทคนิคที่จะทำให้ไปสู่ความสำเร็จ มีดังนี้
- รู้เขารู้เรา ศึกษาการตลาด และคู่แข่ง เพื่อสร้างความแตกต่าง
- การสร้างภาพลักษณ์ และสร้างตรายี่ห้อ
- พัฒนาสินค้าอยู่เสมอ
- นำเสนอข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
- สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
- พ่วงการบริการหลักการให้การบริการที่ดี มีอยู่ 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้
  1. บริการด้วยความรวดเร็ว
  2. ประหยัดเงินและเวลา
  3. เกิดความรู้สึกที่ดีต่อผู้ให้บริการ
- สมนาคุณให้ประทับใจ
- รับผิดชอบในกรณีที่ผิดพลาด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้