ภาษีเงินได้นิติบุคคล กับ รายจ่ายต้องห้าม

23614 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาษีเงินได่นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กับ รายจ่ายต้องห้าม

รายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี

       รายจ่ายต้องห้าม หมายถึง รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคล แต่ในทางภาษีไม่ให้ถือ

เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

       เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามมาตรา 65 ทวิ มีดังนี้

(1) รายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทางภาษีต้องนำมาบวกกลับ

     เพื่อคำนวณกำไรสุทธิ


(2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็น

     ค่าเสื่อมราคา

(3) การตีราคาทรัพย์สิน ราคาทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากราคาสินค้าคงเหลือ ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อ 

      ทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ ห้ามมิให้นำราคาที่ตีเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิส่วน 

      ทรัพย์สินรายการใดมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการ 

      คำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์วิธืการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคา

      ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลาและมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สิน

      นั้นเท่านั้น

(4) การโอนทรัพย์สิน ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ

      หรือ ดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(5) การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินและหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ เงินตรา   

      ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะ     

      เวลาบัญชี ให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น

(6) การตีราคาสินค้าคงเหลือ ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณตาม   

      ราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่าและให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมา   

       สำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย

(7) การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ประเมินมีอำนาจประเมิน โดย 

      เทียบเคียงกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันที่ส่งเข้าไปในประเทศอื่นได้

(8) การคำนวณราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่าง   

      ประเทศ ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้รับสินค้านั้นมา

(9) การจำหน่ายหนี้สูญ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้สามารถกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลัก 

      เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกระทรวง ฉบับที่ 186(พ.ศ.2534) แต่เมื่อมีการรับชำระหนี้ใน

      รอบระยะเวลาบัญชีใดให้นำมาเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หนี้สูญรายใดได้นำมาคำนวณเป็น

      รายได้แล้วหากได้รับชำระในภายหลังก็มิให้นำมาคำนวณเป็นรายได้อีก

(10) การคำนวณเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไร ให้ถือเป็นรายได้ ดังนี้

       - เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย(แต่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ได้รับยกเว้นกึ่งหนึ่ง

       - เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับยกเว้นทั้งหมด

       - เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

         แต่ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออก

         เสียงในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทผู้จ่ายปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทผู้รับเงินปันผล

         ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ได้รับยกเว้นทั้งหมด

(11) ดอกเบี้ยกู้ยืม ที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

        ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกว่า

(12) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร ที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามกฎหมายดังกล่าว

       และหากผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้นำบัญญัติข้อ (10)

       มาใช้ บังคับโดยอนุโลม (ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้นำมาคำนวณเป็นรายได้กึ่งหนึ่ง

      แต่หากเป็น บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือเป็นบริษัทที่

      ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล

     ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทผู้จ่าย

    เงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทผู้รับเงินปันผลว่าทางตรงหรือทางอ้อม ให้ได้รับยกเว้นทั้งหมดด้วย)

(13) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ไม่ต้องนำค่าลงทะเบียน หรือค่าบำรุงที่ได้รับจาก

       สมาชิก เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค หรือจากการให้โดยเสน่หา แล้วแต่กรณี มารวม

       คำนวณเป็นรายได้

(14) ภาษีขาย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับคืน

       จากการขอคืน ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ (เนื่องจากภาระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นของผู้บริโภค

       บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเพียงคนกลางที่รับ

       ภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วส่งต่อให้รัฐบาลผ่านกรมสรรพากรเท่านั้น มิได้ถือเป็นรายได้ของกิจการแต่อย่างใด)

เงื่อนไขเกี่ยวกับรายการที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี

ตามมาตรา 65 ตรี มีดังนี้

(1) เงินสำรองต่าง ๆ เป็นรายจ่ายต้องห้าม นอกจากเงินสำรอง ดังต่อไปนี้

     (1.1) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัย เพื่อสมทบทุนประกันชีวิต

     (1.2) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร

              เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับ ในรอบระยะเวลาบัญชี

              หลังจากหักเบี้ยประกันภัย ซึ่งเอาประกันต่อออกแล้วถือเป็นรายจ่ายได้

     (1.3) เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับหนี้ที่เกิดจาก

              การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนบริษัทหลักทรัพย์ หรือ

              เครดิตฟองซิเอร์ ให้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคาพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วย

              การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ แต่กรณีเฉพาะส่วนที่ตั้ง

              เพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฏในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน

              เงินสำรองที่ตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่งและได้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือ

              ขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใดตอมาหากมีการต้องสำรองประเภทดังกล่าว

              ลดลง ให้นำเงินสำรองส่วนที่ตั้งลดลงซึ่งได้ถือเป็นรายจ่ายไปแล้วนั้น มารวมคำนวณเป็น

              รายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลงนั้น

(2) เงินที่จ่ายเข้ากองทุนใด ๆ เป็นรายจ่ายต้องห้าม เว้นแต่ เงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงิน

     สบทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ถือเป็นรายจ่ายได้

(3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล เป็นรายจ่ายต้องห้าม

     เว้นแต่ราย จ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือการสาธารณประโยชน์ ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของ

     กำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา

    รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หมายถึง รายจ่ายที่แต่ละคนจะรับภาระในส่วนของตนเป็น

    การส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยผู้รับไม่มีความผูกพันในทางธุรกิจการงานกับ

    ผู้ให้

    รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา หมายถึง รายจ่ายที่จ่ายไปโดยความรักใคร่ชอบพอกัน

    เป็นการส่วนตัว ซึ่งผู้รับไม่มีความผูกพันว่าจะต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตอบแทน หรือเรียกว่า

    การให้เปล่า

    รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการกุศล หมายถึง รายจ่ายที่จ่ายไปในการทำบุญทำทาน บริจาคทรัพย์สิน

    ช่วยการศึกษา การศาสนา การสังคมสงเคราะห์หรือการอื่น ๆ แต่กรณีกฎหมายยังยอมให้หักได้ในกรณี

    เป็นการจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณธ หรือเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดว่าเป็นใคร

(4) ค่ารับรอง เว้นแต่ ค่ารับรองดังต่อไปนี้สามารถนำมาจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ หลักเกฑ์ว่า

     ก. ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุ

          ทั่วไป และบุคคลซึ่งได้รับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

     ข. ค่ารับรองหรือค่าบริการต้อง

              1. เป็นรายจ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ

                   เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร

              2. เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการ ไม่เกินคนละ 2,000 บาท

      ค. จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้อง 

          ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมหรือคำนวณกำไรสุทธิ

      ง. ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจาก 

         บุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือมีคำสั่งจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นด้วย และต้องมีใบหลักฐานของ

         ผู้รับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการ

(5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติมเปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดี   

     ขึ้นซึ่งทรัพย์สินเป็นรายจ่ายต้องห้ามแต่หากเป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมถือเป็นรายจ่ายในการ

     คำนวณกำไรสุทธิได้

     รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือ 

     ประโยชน์ต่อกิจการเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบญชี

     รายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ทรัพย์สินดีขึ้น หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้

     อายุการใช้งานของทรัพย์สินเดิมยาวนานขึ้น หรือมีสภาพดีขึ้น

(6) เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญาภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็น

      รายจ่ายต้องห้าม

     คำว่า “เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา” หมายถึง เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม

     และค่าปรับอาญา ตามกฎหมายภาษีอากรทุกประเภท รวมถึงค่าปรับที่เป็นโทษทางอาญา และเงินเพิ่ม

     ภาษีอากรตามกฎหมายอื่นด้วย

     ภาษีซื้อต้องห้ามบางลักษณะที่กำหนดไว้ในมาตรา 82/5 (4) และ (6) แห่งประมวลรัษฎากร นำมาเป็น

     รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถนำไปเครดิตภาษีได้ ซึ่งเป็นภาระ

     แก่ผู้เสียภาษี อาทิ

1. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่ออันมีลักษณะทำนองเดียวกัน

2. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

3. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ

4. ภาษีที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

5. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง

6. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ที่คำว่า “ใบกำกับภาษี” ไม่ได้ถูกตีพิมพ์ หรือไม่ได้จัดท

    คอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

7. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำขึ้

    ด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

8. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (copy)

9. ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

10.ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการ เนื่องจากกิจการประกอบกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษี

     มูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด

11.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งรายการต่าง ๆ ได้ถูกแก้ไขหรือถูกเปลี่ยนแปลงเป็นภาษี

     ซื้อต้องห้าม

12.ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่

     เกิน10 คน และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครองได้มีการดัดแปลงรถยนต์ 

     ดัง กล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

13.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบ

     กำกับภาษีไม่ได้พิมพ์ขึ้นหรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วย

    ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

(7)  การถอนโดยปราศจากค่าตอบแทน เป็นการถอนเงินลงทุนหรือเป็นการแบ่งกำไรกัน ไม่เกี่ยวข้องกับ

       การบันทึกรายจ่ายของกิจการแต่อย่างใด

(8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นผู้ถือหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรเป็นรายจ่ายต้องห้าม

(9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หมายความถึง รายจ่ายใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน

      นิติบุคคลได้กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง โดยไม่ได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นการ

      ตอบแทน

(10) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สิน ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เองเป็นรายจ่าย

        ต้องห้าม

(11) ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเองถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

(12) ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน กรณีความเสียหายนั้นมีทางที่จะได้รับการชดใช้ตามสัญญา

       แต่ถ้าได้รับค่าชดใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือก็ลงเป็นรายจ่ายได้

(13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

(14) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

รายจ่ายที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้าม

จะต้องเป็นกรณีที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่ารายจ่ายดังกล่าว เป็นรายจ่ายไป โดยเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะ

ดังต่อไปนี้

           1.รายจ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการของสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นนั้นเกี่ยวกับ

กิจการของสาขาในประเทศไทย

           2.รายจ่ายที่เกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนา โดยสาขาในประเทศไทยจะต้องได้รับบริการหรือได้นำผล

การค้นคว้าและพัฒนามาใช้ประโยชน์ของสาขาในประเทศไทยตามความเป็นจริง

           3.รายจ่ายใดถ้าสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นได้นำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของ

สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นแล้ส จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยอีกไม่ได้

            4.รายจ่ายที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นเรียกเก็บมายังสาขาในประเทศไทยจะต้องมีเกณฑ์และวิธี

การเป็นที่รับรองทั่วไป และต้องถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสาขาในประเทศอื่น ๆ และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

          จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าวข้างต้นที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยได้

จะต้องมีหลักฐานหรือหนังสือรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง

(15) ค่าซื้อทรัพย์สิน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

(16) ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไป เนื่องจากกิจการที่ทำถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น

        การทำเหมืองแร่ หรือการทำป่าไม้ มูลค่าหรือการตีราคาของจำนวนสินแร่หรือจำนวนไม้นั้นถือมาเป็น

        รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้

(17) ค่าของทรัพย์สิน เพราะการที่กิจการจะตีราคาทรัพย์สินลดลงโดยยังไม่มีการขายทรัพย์สินจริง ๆ

       นั้น รายการผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินลดลงย่อมเป็นรายการที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง

(18) รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น กรณีที่ไม่มีหลักฐานที่

        เป็นค่าใช้จ่ายของการรับจ้าง

(19) รายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้ เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้วถือเป็นรายจ่าย

        ต้องห้าม

(20) รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ ที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (19) ตามที่กำหนดโดยราชกฤษฎีกา


การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับรายจ่ายที่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำมาใช้คำนวณกำไรสุทธิในแบบแสดง
รายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้